ต้องยอมรับว่า ภัยที่เกิดจากธรรมชาติทั้งแผ่นดินไหว น้ำท่วม และลมพายุ เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ซึ่งถึงได้ว่า ปัจจุบันในเมืองไทยมีขึ้นบ่อยครั้ง และในแต่ละครั้งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และตัวบุคคล โดยเฉพาะที่อยู่อาศัย การเริ่มการป้องกันจึงต้องมีการวางแผนในการมองการณ์ไกลว่า อาจจะเกิดปัญหาใดและพร้อมหาวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง ดังนั้นก่อนที่จะออกแบบหรือก่อสร้างบ้านจึงควรคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้ให้มาก

โดยบ้านส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากที่สุด มักจะตั้งอยู่ในต่างจังหวัด ในพื้นที่ธรรมชาติอย่างป่าเขา ทุ่งหญ้า ท้องนา หรือริมน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงภัยดังกล่าว เราควรวางแผน การออกแบบบ้าน ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ เพื่อป้องกันให้บ้านรับความเสียหายจากภัยธรรมชาติให้น้อยที่สุด

การออกแบบบ้าน

การออกแบบบ้าน

สิ่งที่ควรวางแผน การออกแบบบ้าน รับมือภัยธรรมชาติ

พื้นดินที่ตั้ง

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวหรือน้ำป่าไหลหลาก สภาพของชั้นดินที่แข็งแรงจะช่วยยึดบ้านของเราให้ปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการปลูกบ้านบนพื้นที่ที่เป็นหินกรวด ทราย หรือดินเหลว ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นชั้นหินแข็งแรง หรือชั้นดินที่มีความหนาแน่น ลองสำรวจด้วยตาเปล่าก่อนในขั้นแรก และเพื่อให้แน่ใจก็ควรให้วิศวกรเจาะสำรวจอีกครั้งหลีกเนินหินและต้นไม้ใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการปลูกบ้านบนหรือภายใต้เนินหินที่มีโอกาสถล่มลงมาได้ รวมถึงต้นไม้ใหญ่ที่สามารถล้มลงมาทับบ้านเมื่อเกิดลมพายุ และอย่าลืมเว้นระยะให้ห่างจากรัศมีการล้มของต้นไม้ด้วย

ส่วนยอดและส่วนต่ำสุดนั้นอันตราย

ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ลมพายุจะมีกำลังแรงที่สุดเมื่อพัดผ่านบริเวณยอดเขา ยอดเนิน หรือที่ราบที่เป็นหุบเขาต่ำลงไป ฉะนั้น จึงไม่ควรปลูกบ้านในบริเวณนี้

หลังคาเบา

บ้านที่มีหลังคาหรือส่วนบนของบ้านหนักเกินไป ไม่ว่าจะด้วยวัสดุที่ใช้ทำ หรือการมีสิ่งของบรรทุกอยู่มาก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวหลังคามีโครงจะถล่มลงมาได้ง่ายกว่าอาคารที่มีหลังคาน้ำหนักเบา รวมไปถึงการใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่น เช่น ไม้ หรือเหล็ก ก็จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงมากขึ้นด้วย

หลายวัสดุหลายรอยต่อ

ผนังของบ้านหรืออาคารไม่ควรประกอบด้วยวัสดุที่หลากหลายมากเกินไป เพราะจะทำให้มีรอยต่อมาก มายกลายเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของบ้าน มีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียหายได้ก่อนส่วนอื่น ๆ ควรเลือกใช้วัสดุทำผนังเพียงชนิดเดียวและต้องมีความยืดหยุ่นสูงด้วย

สำรวจระดับน้ำที่เคยท่วมถึงเมื่อทราบถึงระดับน้ำที่เคยท่วมถึงแล้ว

ควรออกแบบหรือสร้างบ้านให้ยกสูงขึ้นจากระดับน้ำนั้นพอสมควร โดยตัวบ้านต้องตั้งอยู่บนเสาเข็ม หรือกำแพงกันดินที่มีความแข็งแรง อาจเสริมโครงสร้างทแยงเพื่อรัดโครงสร้างของบ้านให้แข็งแรงขึ้น

การออกแบบบ้าน

แยกอาคาร ลดอัตราเสี่ยง

รูปทรงอาคารที่ปลอดภัยที่สุดเมื่อเกิดลมพายุคือรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก อาคารที่มีขนาดใหญ่หรือทอดตัวยาวเป็นรูปตัวแอล (L) โดยไม่ได้แยกอาคารออกจากกัน ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายมากกว่า

ทรงหลังคาที่ลู่ลม

หลังคาที่มีความลาดเอียงทั้งสี่ด้าน หรือที่เรียกว่า “ปั้นหยา” เป็นทรงหลังคาที่ปลอดภัยจากลมพายุมากกว่าทรงจั่ว ทรงหมาแหงน และหลังคาแบนราบระวังช่องเปิดเหนือผนัง ไม่ควรทำช่องเปิดที่ลมสามารถพัดผ่านได้ที่บริเวณระหว่างเหนือผนังกับใต้หลังคา เพราะลมจะสามารถพัดผ่านและพัดเอาหลังคาหลุดลอยไปได้ หากต้องการช่องเปิด ควรพิจารณาตำแหน่งที่ต่ำลงมาประมาณ 1 เมตร

หลีกเลี่ยงกระจก

ควรหลีกเลี่ยงการใช้กระจกมาทำเป็นประตูและหน้าต่าง ลองเลือกใช้ไม้ อะลูมิเนียม เหล็ก หรือพลาสติกแทน แต่หากต้องการจะใช้จริง ๆ ก็ควรเป็นกระจกนิรภัย เพราะเมื่อแตกแล้วจะแตกละเอียดเป็นเม็ดเล็ก ๆ หรือเลือกกระจกลามิเนตที่มีฟิล์มสอดอยู่ตรงกลาง เวลาแตกก็จะไม่หล่นลงมา เพราะมีฟิล์มป้องกันอยู่เปิดออกแข็งแรงกว่า ประตูบานเปิดออกสู่ภายนอกจะมีความแข็งแรงทนทาน ต่อแรงลมมากกว่าบานประตูที่เปิดเข้าภายในบ้าน

แยกกันสาดจากหลังคา

ไม่ควรให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของกันสาดเชื่อมต่อกับหลังคา เพราะหากเกิดความเสียหายกับกันสาดก็จะไม่ส่งผลไปถึงหลังคา นอกจากนี้ไม่ควรออกแบบชายคาที่ยื่นยาวเกินไป เพราะจะเพิ่มพื้นที่ในการปะทะของลมให้มากขึ้น และก็จะเกิดความเสียหายมากขึ้น.

การออกแบบบ้าน