กลอนแม่เหล็ก (Magnetic Lock) หรือ กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า ในท้องตลาดทั้วไปมีขายอยู่หลายแบบซึ่งแต่ละแบบใช้งานแตกต่างกันออกไปแบบแรกให้แรงดูดของแม่เหล็กในการดูดแผ่นเหล็กเรียกว่า กลอนไฟฟ้า(Magnetic Lock) แบบที่สองการทำงานเป็นแบบสลักล็อคเรียกว่า (Electric ฺBolt) แบบที่สามเรียกว่า (Electric Strike) โดยทั้งสามแบบต้องให้ไฟเลี้ยงอุปกรณ์โดยไฟที่จ่ายให้นั้นมาจาก (Power supply) หรือเครื่องควบคุมการเปิดปิดประตู (Access control)

โดยทั่วไป กลอนแม่เหล็กนั้น สามารถนำมาติดตั้งที่ประตูอัตโนมัติ เพื่อดูดประตูไม่ให้สามารถเปิดออกได้โดยง่าย และสามารถไปติดตั้งกับประตูได้หลากหลายวัสดุ นำไปใช้งานร่วมกับ เครื่องทาบบัตร หรือ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ เป็นระบบควบคุมการเข้า-ออกของห้องหรืออาคาร  กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า รุ่นใหม่มีเสียงเตือนในตัวไม่ต้องไปต่อกับ Buzzer ให้ยุ่งยาก ซึ่งง่ายต่อใช้งานเหมือน กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า ทั่วไป และเมื่อประตูเปิดแล้วไม่ปิดในเวลาที่กำหนดจะมีเสียงดังโดยเวลานั้นสามารถตั้งได้ที่ตัว สามารถตั้งได้ตั้งแต่ 1- 15 วินาที

เครื่องทาบบัตรกับชุด กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า

ตัวอย่างการติดตั้งกับ กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า แบบต่างๆ

  • U Bracket for dropbolt เป็นอุปกรณ์เสริมใช้ในการติดตั้ง Electric Bolt กับประตูกระจกที่เป็นบานเปลือย
  • U Bracket for bolt เป็นอุปกรณ์เสริมใช้ในการติดตั้ง Electric Bolt กับขอบของประตูกระจกที่เป็นบานเปลือย
  • U Bracket for magnetic เป็นอุปกรณ์เสริมในการติดตั้งชุดกลอนแม่เหล็กไฟฟ้ากับกระจกบานเปลือย

เครื่องทาบบัตร ไปใช้งานส่วนใหญ่นั้นอาจจะพบเห็นที่ติดอยู่ตามประตูทั่วไปอาจพบในสถานที่ทำงาน ที่พักอาศัย โดยบางท่านอาจจะสงสัยว่ามีหลักการอย่างไรและมีการใช้อุปกรณ์อะไรบ้างถ้าจะใช้งาน เครื่องทาบบัตร เพื่อควบคุมการเข้า-ออก  โดยเริ่มจากการเลือกเครื่องทาบบัตร ควรเลือกเครื่องทาบบัตร คีย์การ์ด ตามความต้องการของท่านแต่ที่สำคัญต้องเป็น เครื่องทาบบัตร คีย์การ์ด ที่มีฟังก์ชั่น Access control อันนี้สำคัญมากเพราะถ้าไม่มีฟังก์ชั่นนี้ เครื่องทาบบัตร ของท่านก็จะไม่สามารถทำงาน ควบคุมประตูได้

เครื่องทาบบัตรกับชุด กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า

เครื่องทาบบัตรกับชุด กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า

อุปกรณ์ชิ้นต่อมา คือ กลอนแม่เหล็ก หรือกลอน แม่เหล็กไฟฟ้า

  1.  กลอน แม่เหล็กไฟฟ้า แบบ Magnetic Lock หลักการทำงานมีจ่ายไฟ 12 V ให้แก่ กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic lock) จะเกิดพลังงานแม่เหล็กขึ้น เกิดแรงดูดมีค่าต่างๆ ตามขนาดของ กลอน แม่เหล็กไฟฟ้า โดยจะบอกแรงดูของแม่เหล็กมีหน่วยเป็น ปอนด์ จะมีตั้งแต่ 300 ปอนด์ 600 ปอนด์ 1,200ปอนด์ แต่แรงดูดที่มากขนาดก็จะใหญ่ตามไปด้วย ข้อควรระวังคือถ้าไม่มีไฟจ่ายให้ กลอน แม่เหล็กไฟฟ้า ประตูจะเปิดโดยทันที
  2. กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า แบบ ElectricBolt ลักษณะการใช้งานจะเป็นลักษณะมีแผ่นเพรท มีรูติดตั้งที่บานประตูส่วน Bolt จะถูกติดตั้งด่างล่างหรือด้านบนของขอบประตู Bolt ถูกออกแบบมาให้ฝังกับพื้นหรือเพดานเพื่อการใช้งานในการเปิดประตูที่สามารถเปิดได้ทั้ง 2 ฝั่ง โดยที่ตัว Bolt นั้นบางรุ่นมี ดริฟสวิทช์ เพื่อปรับเวลาการ Lock ของ Bolt ให้นึกภาพ เมื่อปิดประตูเมื่อประตูมาถึงจุดที่ Bolt ทำงานถ้าประตูมีแรงสวิงมากก็จะมีเสียงดังแต่ถ้าปรับเวลาทำงานของ Bolt แล้วเมื่อประตูมาถึงจุดที่ Bolt ทำงานแต่ว่ามีการหน่วงเวลาอยู่ทำให้ประตูมีแรงสวิงน้องลงลดเรื่องของเสียงดังเวลา Bolt ทำงานได้
  3. ShortEletricStrike กลอน แม่เหล็กไฟฟ้า แบบ Electricstrikeลักษณะการใช้งานจะเป็นลักษณะมีแผ่นเพรทรับอยู่ที่บานประตูและตัว Electric strike ติดตั้งอยู่ที่ขอบวงกบปรูเป็นลักษณะของการจ่ายไฟเพื่อปลดล๊อคส่วนใหญ่ใช้งานกับ ประตูบานเลื่อนอัตโนมัติ หรือประตูไม้
  4. แหล่งจ่ายไฟ (Adapter / Power supply) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญไม่แพ้อุปกรณ์อื่น เนื่องเป็นแหล่งพลังงานที่ทำให้ เครื่องทาบบัตร และ กลอน แม่เหล็กไฟฟ้า ทำงานได้โดยข้อแตกต่างระหว่าง Adapter และ power supply คือ ถ้าเลือกใช้Adapter เป็นแหล่งจ่ายไฟให้อุปกรณ์นั้นเวลาไฟฟ้าดับ เครื่องทาบบัตร และ กลอน แม่เหล็กไฟฟ้า ก็จะไม่ทำงานทำให้ประตูเปิดได้ แต่ถ้าเลือกใช้ Power supply โดย Power supply มีบอร์ดควบคุมการทำงานของชุด กลอน แม่เหล็กไฟฟ้าและวงจรชาร์จแบตเตอรี่ ทำให้สามารถต่อแบตเตอรี่สำรองไว้ใช้เวลาไฟฟ้าดับทำให้เมื่อไฟฟ้าดับ เครื่องทาบบัตร คีย์การ์ด และ กลอน แม่เหล็กไฟฟ้า ยังคงทำงานตราบเท่าที่แบตเตอรี่ยังคงสามารถจ่ายไฟสำรองได้
  5. ปุ่มกด (Exit Switch) ใช้เพื่อกดเปิดประตูจากทางด้านในโดยปุ่มกด ที่เลือกใช้เป็นแบบ กด ติด ปล่อย ดับมีให้เลือกหลากหลายแบบทั้งแบบพลาสติก หรือแบบโลหะเลือกใช้ตามความเหมาะสม