ก่อนที่เราจะสร้างบ้านเราต้องใช้เวลาการวางแผน และออกแบบบ้าน เพื่อการใช้งานให้มีประสิทธิภาพให้ได้มากที่สุด โดยก่อนจะสร้างบ้านจริง ตัวเจ้าของบ้านเองควรทราบถึงว่า โครงสร้างส่วนต่างๆของบ้าน ที่แท้จริงนั้นมีอะไรบ้าง  เพื่อการดูแลรักษาต่อไปในอนาคต
โครงสร้างส่วนต่างๆของบ้าน

โครงสร้างส่วนต่างๆของบ้าน

เสาเข็ม เสาเข็ม

มีหน้าที่รับน้ำหนักอาคารแล้วถ่ายลงสู่ชั้นดิน เสาเข็มที่ใช้กับอาคารขนาดเล็กเช่นบ้านนั้น

  • เสาเข็มคอนกรีตระบบตอก ใช้กับอาคารทั่วไป ความสั้นยาวของเข็มขึ้นอยู่กับลักษณะดินของพื้นที่นั้นๆ และขนาด ของอาคาร โดยทั่วๆไป บ้านเดี่ยวที่ปลูกสร้างในเขตกรุงเทพฯจะใช้ความยาวเข็มอยู่ที่ประมาณ 20 เมตร ส่วนขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางของเข็มขึ้นอยู่กับการคำนวณของวิศวกร
  • เสาเข็มเจาะ ใช้ระบบเจาะดิน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเข็มขึ้นอยู่กับการคำนวณของวิศวกรเช่นกัน แล้วจึงเทคอนกรีต ลงในรูที่เจาะเอาไว้ ซึ่งเสาเข็มประเภทนี้จะมีราคาสูงกว่าเสาเข็มตอกประมาณ 3 เท่า  จึงนิยมใช้เฉพาะบริเวณที่ไม่สามารถ ขนส่งเสาเข็มไปในที่ก่อสร้างได้ หรือบริเวณที่แรงสั่น สะเทือนของการตอกเข็มจะทำความเสียหายให้แก่อาคารข้างเคียง เท่านั้น

โครงสร้างส่วนต่างๆของบ้าน

หลังคา รูปทรงของหลังคา

  • หลังคาแบน นิยมก่อสร้างด้วยคอนกรีตซึ่งเป็นวัสดุที่ทำงานได้ง่ายในปัจจุบัน หลังคาในลักษณะนี้ควรระวังเรื่องการรั่วซึม ของน้ำ จึงควรดูแลให้มีการผสมน้ำยากันซึมลงในเนื้อคอนกรีต ทั้งนี้การเทพื้นควรระมัดระวังให้ไม่เกิดแอ่ง ซึ่งจะทำให้น้ำขัง และเทพื้นคอนกรีตให้ลาดเอียงเล็กน้อยประมาณ 1:100 เพื่อลงสู่ท่อระบายน้ำ ซึ่งท่อระบายน้ำควรมีขนาดใหญ่พอที่จะระบาย น้ำจากพื้นที่รับน้ำ และเดินท่อเป็นแนวตรงหรือมีการหักงอน้อยที่สุด
  • หลังคาลาดเอียง เป็นรูปแบบหลังคาที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณและยังนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นทรงหลังคา ที่สามารถระบายน้ำได้ดี ช่องว่างใต้หลังคาทำให้เกิดช่องอากาศ ทำให้ความร้อนจากหลังคาไม่ถ่ายเทเข้าตัวอาคารได้เร็วนัก

โครงสร้างส่วนต่างๆของบ้าน

 

พื้น

วัสดุที่ใช้เป็นพื้นโครงสร้างในปัจจุบันนิยมใช้พื้นคอนกรีต ซึ่งมีทั้งแบบหล่อในที่ และแบบสำเร็จรูปให้เลือกใช้

  • พื้นคอนกรีตชนิดหล่อในที่เป็นพื้นที่ใช้เวลาในการก่อสร้างนานและพื้นมีน้ำหนักมาก นิยมใช้กับพื้นที่จะเป็นต้องมีการวาง ท่อหรือเจาะทำช่องบันไดเนื่องจากสามารถกำหนดรูปร่างของพื้นที่ที่จะเทได้ และสามารถกันการรั่วซึมได้ดีกว่า
  • พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป มีทั้งแบบท้องเรียบและแบบลูกฟูก นำมาวางบนคานก่อนจะวางตะแกรงเหล็กกันร้างแล้วเทคอนกรีตทับหน้าแล้วจึงปูพื้นด้วยวัสดุแต่งพื้นอีกครั้งหนึ่ง สามารถทำงานได้รวดเร็วกว่าพื้นคอนกรีตแบบหล่อในที

ผนัง

  • ผนังไม้ ให้ความรู้สึกสวยงามและอบอุ่น แต่ก็มีข้อเสียเรื่องการรบกวนของปลวกและราคาที่สูงขึ้น ปัจจุบัน จึงมีการผลิตแผ่นวัสดุที่เรียกว่าไม้สังเคราะห์ขึ้นมาใช้ เช่นที่เรียกกันว่า คอนวูดหรือไม้เชอร่า เหล่านี้สามารถใช้งานแทนไม้ได้ดีพอสมควร แต่ก็ให้ผิวสัมผัสที่แตกต่างจากไม้อยู่บ้าง
  • ผนังยิปซัม ผนังยิปซัมจะมีน้ำหนักเบา ไม่บิดงอและไม่มีปัญหาเรื่องปลวก เมื่อติดตั้งแล้วดูเรียบร้อยสวยงาม แต่ควรระมัดระวัง เรื่องการเจาะหรือตอกผนังเพื่อแขวนสิ่งของ เนื่องจากตัวผนังยิปซัมไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากนัก
  • ผนังอิฐมวลเบา มีคุณสมบัติคือ น้ำหนักเบา สามารถกันความร้อนและเสียงได้ดี แต่ในขณะเดียวกันก็มีจุดอ่อนที่ความชื้นเนื่องจากอิฐมวลเบา คือการนำคอนกรีตมาเติมฟองอากาศเพื่อให้มีน้ำหนักเบา ดังนั้น หากกระบวนการผลิตมีการเติมฟองอากาศมากเกินไป จะทำให้ความชื้นซึมผ่านก้อนอิฐได้ง่าย
  • ผนังก่ออิฐฉาบปูน เป็นผนังที่ใช้อยู่ทั่วไป ทำง่าย ราคาถูกและใช้ช่างทั่วไปทำได้ ทั้งนี้มีข้อควรระวัง อยู่เล็กน้อยคือ

– เมื่อเป็นผนังที่มีความสูงมากกว่า 3 เมตรขึ้นไป จะต้องมีคานทับหลังเพื่อความแข็งแรง

– เมื่อเป็นผนังที่มีความยาวมากกว่า 4 เมตรขึ้นไป จะต้องมีเสาเอ็นเพื่อความแข็งแรง

– ขอบประตูหน้าต่างต้องมีเสาเอ็นและคานทับหลังเสมอ เพื่อความแข็งแรงและป้องกันการแตกร้าวที่มุมประตูหน้าต่าง

– ก่อนฉาบปูนควรเดินท่อต่างๆให้เรียบร้อยก่อน แล้วใช้เหล็กตะแกรงบุบริเวณท่อเพื่อป้องกันการแตกร้าวของปูนฉาบ

โครงสร้างส่วนต่างๆของบ้าน

***เพิ่มเติม หากต้องการให้บ้านมีความทันสมัย และ มีความสะดวกในการใช้งาน เราสามารถเลือกใช้ ประตูอัตโนมัติ ภายในห้องต่างๆ ได้ โดยเลือกที่มีลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมนั่นเอง***